วัดประตูสาร Wut Pratu San
|
https://www.sangha14.org |
วัดประตูสาร เป้นวัดราษฏร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ในตำบลท่าระหัด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 83ตารางวา มีธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา
ที่มาฃองชื่อประตูสาร ในอดีตพื้นที่เหนือวัดประตูสารขึ้นไปประมาณ 100 เมตรเศษเป็นคู เคยเป็นเพนียดคล้องช้างแต่โบราณ คาดว่าเป้นประเพณีคล้องช้งสมัยอู่ทอง จนเข้ามาสู่สมัยอยุธยา เมื่อควาญช้างไปต้อนช้างเข้ามายังเพนียด แล้วคัดเลือกเพื่อนำมาเป็นช้างศึกต่อไป ประตูสารจึงหมายถึงประตูของช้าง
วัดประตูสารสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2223 ในอดีตศาลาวัดเคยใช้เป็นศาลตัดสินคดีความ พอตัดสินเสร็จ ศาลก็ยกเลิกแล้วกลับมาเป็นศาลาวัดตามเดิม
|
https://www.google.com.sa/ |
ภายในอุโบสถมีจิตกรรมฝาผนัง เขียนในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตอนทศชาติชาดก โดยแทรกเรื่องราวของวิธีชีวิตของผู้คนในสมัยเข้าไปด้วย พระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่ประดิษฐานคู่วัดมานาน มณฑป
พระครูวิธุรสุตาคม( หลวงพ่อก๋ำ)
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2423 ที่บ้านประตูสาร และอุปสมบทประมาณปี พ.ศ.2444 ท่านเป็นพระที่ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรม ชำนาญบทสวดมนต์และคาถาต่างๆ หลวงพ่อก๋ำมีลักษณะสูงใหญ่ ลำคอใหญ่ ทำให้มีเสียงสวดมนต์ก้องกังวาน ชาวบ้านต่างให้ความเคารพศรัทธาเพราะท่านมีวาจาที่ศักสิทธิ์
ประตูทางเข้าทิศใต้
ประตูอุโบสถฝั่งทิศตะวันตก
ประตูอุโบสถฝั่งทิศตะวันออก
ประตูทางเข้าฝั่งทิศตะวันตก มีให้บูชาพระสิวลี
|
https://mobile.nlt.go.th/ |
วัดประตูสารใน โครงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่
ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโน้น พิศดารมี
วัดรูปบูราณ ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาร สงสู่อยู่เลย
หย่อมย่านบ้านขุนช้าง ชิดข้างสวนบังลัง
|
https://scontent.fbkk19-1.fna.fbcdn.net |
|
https://scontent.fbkk19-1.fna.fbcdn.net |
รูปแบบจิตกรรมฝาผนังงานศิลปกรรมช่วงสมัยรัชกาลที่ 3
จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนด้านบนเหนือกรอบประตูหน้าต่างและส่วนด้าน ล่าง โดยมีแถบลายประจำยามก้ามปูคั่นไว้ เรื่องราวภาพจิตรกรรมเล่าเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติ อดีตพุทธและสอดแทรกภาพวิถีชีวิตของผู้คนในช่วงเวลานั้นไว้ด้วย
*เนื่องจากทางวัดไม่ได้เปิดอุโบสถที่มีภาพจิตกรรมฝาผนัง จึงไม่สามารถบันทึกรูปภาพได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น